LASIK Hotline
about-visian-alt

Visian ICL

การใส่เลนส์เสริม ICL

การทำผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เป็นเลนส์ชนิดพิเศษที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติเช่นเดียวกับคอนแทคเลนส์ แต่ต่างกันตรงที่ เลนส์ ICL ถูกนำไปใส่ไว้ภายในตาแบบถาวร โดยที่ไม่ได้นำเลนส์แก้วตาธรรมชาติออกจากตา

ขั้นตอนการรักษาสายตาด้วยการใส่เลนส์ ICL ต้องผ่าตัดทีละตา โดยจะนัดผ่าตัดห่างกันตาละสัปดาห์ ซึ่งจะใช้เวลารวมทั้งหมดตั้งแต่สั่งตัดเลนส์จนถึงผ่าตัดเสร็จ ประมาณ 5 สัปดาห์ ส่วนในระหว่างที่รอแผลผ่าตัดหายเป็นปกติในตาแรกนั้น คนไข้สามารถใส่คอนแทคเลนส์กับตาอีกข้างได้

ICL คืออะไร?

IMPLANTABLE COLLAMER LENSIMPLANTABLE COLLAMER LENS
eye-anatomyเลนส์เสริม ICL ที่มีการจัดวางที่เหมาะสมสามารถคงการมองเห็นอย่างถูกต้องชัดเจนโดยปราศจากขั้นตอนการบำรุงรักษา

IMPLANTABLE Implantable collamer Lens เป็นเทคโนโลยีการแก้ปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง แบบถาวร ที่ช่วยให้ภาพที่มองเห็นหลังจากใส่เลนส์เสริมเป็นภาพที่มีความคมชัด (High Definition)

เลนส์เสริม (ICL) ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FDA approval เพื่อใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยที่ ICL มาจากการวิจัยและพัฒนาโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมาอย่างต่อเนื่อง

การใส่เลนส์เสริม ICL ดำเนินการโดยจักุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาสายตา โดยแพทย์จะทำการใส่เลนส์เสริมที่บริเวณ ช่องระหว่างม่านตาและเลนส์ธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่แก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ

ICL ทำมาจากอะไร ?

IMPLANTABLE COLLAMER LENSIMPLANTABLE COLLAMER LENS
ICL ประกอบด้วย UV Blockerวัสดุของเลนส์เสริม ICL ประกอบด้วย UV Blocker ที่ช่วยปกป้องดวงตาจากความผิดปกติหรืออันตรายที่มีสาเหตุมาจากการได้รับรังสี UVA และ UVB ปริมาณมากเกินไป
แก้ปัญหาสายตาด้วยเลนส์เสริม ICL

แก้ปัญหาสายตาด้วยเลนส์เสริม ICL

เลนส์เสริม ICL สามารถช่วยแก้ปัญหาสายตาสั้น หรือปัญหาสายตาสั้นที่มีสายตาเอียงร่วมด้วย ทำให้การรวมแสงที่เดินทางเข้าไปในดวงตาไม่พอดีกับจุดโฟกัส (Fovea) เมื่อมีความต้องการแก้ไขปัญหาสายตา เลนส์เสริม ICL จะได้รับการ สั่งตัดพอดีกับค่าสายตาที่ต้องการแก้ปัญหา

ผู้มีปัญหาสายตาจะได้รับการตรวจดวงตาและวัดค่าความผิดปกติของสายตาและนำค่าที่ได้มาคำนวณกับสูตรมาตรฐานด้วยระบบ ออนไลน์

ชนิด กำลังของเลนส์
แก้สายตาสั้น แก้สายตาเอียง
เลนส์เสริมแก้สายตาสั้น 50-1800 -
เลนส์เสริมแก้สายตาสั้นและเอียง 50-1800 50-600

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริมใช้เวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมงโดยแพทย์จะทำการหยอดยาขยายม่านตาและยาชาก่อนเริ่มการผ่าตัด หลังจากใส่เลนส์เสริม ICL ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้โดยจะต้องใส่ฝาครอบตาป้องกันการสัมผัสถูกดวงตา

ภาพที่มองเห็นหลังจากการได้รับการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีการใส่เลนส์เสริม ICL จะมีความคมชัดและช่วยแก้ปัญหาให้มีความเป็นปกติ โดยเลนส์ที่ใช้จะมาจากการตัดสินใจเลือกเลนส์จากการคำนวณที่ถูกต้อง โดยจักษุแพทย์

เลนส์เสริม ICL รุ่น V4c

จุดเด่นของเลนส์เสริม ICL รุ่น V4c อยู่ที่รูตรงกึ่งกลางเลนส์ เรียกว่า KS-AqualPORT

นวัตกรรมใหม่ของการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นยาวและเอียง ด้วยเลนส์เสริมชนิดฝังในดวงตา (Implantable Contact Lens: ICL) กับเลนส์เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด รุ่น V4c ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาให้กับคนไข้ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ด้วยความพิเศษของเลนส์ V4c ที่มี Central flow technology ซึ่งจะสามารถระบายของเหลวภายในตาได้สะดวกโดยไม่ต้องยิงเลเซอร์เพื่อเปิดรูระบายของเหลวที่ม่านตาอีกต่อไป

จุดเด่นของเลนส์เสริม ICL รุ่น V4c จะอยู่ที่รูตรงกึ่งกลางเลนส์ ที่เรียกว่า “KS-AqualPORT” ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 360 ไมครอน โดยขนาดดังกล่าวเป็นขนาดที่ถูกวิจัยมาแล้วว่ามีความเหมาะสมในการระบายน้ำในลูกตา ไม่ทำให้เกิดแสงกระจาย และไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็น

สำหรับข้อดีของ KS-AqualPORT คือ แพทย์สามารถลดขั้นตอนการยิงเลเซอร์ YAG PI ที่จำเป็นต้องทำทุกครั้งก่อนใส่เลนส์ ในส่วนอื่นๆ เช่น ขนาด ความหนา หรือกำลังของเลนส์จะเหมือนกับเลนส์ V4bทุกประการ

ดังนั้นเราจึงมั่นใจได้ว่าเลนส์ ICL รุ่น V4c สามารถช่วยลดขั้นตอนในการใส่เลนส์เสริมให้ง่ายและเร็วขึ้น คนไข้จะได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตในการมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น

KS-AqualPORT-YAG-PI
eye-close-up

วิธีการใส่เลนส์เสริม ICL

  • ก่อนได้รับการใส่เลนส์ พยาบาลจะทำการหยอดยาขยายม่านตา และยาชาจากนั้นจักษุแพทย์จะทำการเปิดช่องขอบด้านข้างของกระจกตา เพื่อฉีดสารหนืดและเพื่อใส่เลนส์เสริม ICL
  • เลนส์เสริม ICL จะเข้าไปในดวงตาผ่านช่องขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร และค่อยๆแผ่ออก
  • ขาของ เลนส์เสริม ICL จะถูกจัดให้อยู่ที่บริเวณรอยเว้าภายใต้ม่านตา
  • เลนส์เสริม ICL จะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยจักษุแพทย์
Visian-ICL-002
Visian-ICL-003
Visian-ICL-004
Visian-ICL-005

ความพิเศษของเลนส์เสริม ICL

  1. ICL ใสบางและมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถพับให้เหลือขนาดเล็ก และใส่เข้าไปในดวงตาผ่านรูเล็กๆ ที่กระจกตา โดยไม่มีความเสียหาย และในเวลาไม่กี่วินาที นอกจากนี้ ICL ยังผลิตจากวัสดุที่ไม่มีการต่อต้านจากร่างกายและอ่อนโยนกับดวงตา
  2. ICL ใส่ได้ง่าย ICL ทำงานเหมือนคอนแทคเลนส์ แต่ต่างกันที่ถูกใส่อยู่ในดวงตา คุณจะไม่เกิดอาการตาแห้ง หรือระคายเคืองกระจกตา
  3. ICL สามารถนำออกจากดวงตาได้ เลนส์จะอยู่อย่างถาวรในดวงตา โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพของกระจกตา และสามารถนำออกได้ถ้าจำเป็นในภายหลัง
  4. ICL สามารถรักษาได้แม้คนไข้ที่มีข้อจำกัดสำหรับการรักษาสายตาด้วยเลเซอร์ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการการรักษาภาวะสายตาสั้น ยาว หรือเอียงมากๆ รวมถึงผู้ที่มีกระจกตาบาง ตาแห้ง หรือมีรูม่านตาใหญ่
  5. ICL รักษาภาวะสายตาผิดปกติ 2 แบบ ได้ในหนึ่งขั้นตอน สามารถรักษาภาวะสายตาสั้นที่มีสายตาเอียงร่วมด้วยได้ในขั้นตอนเดียว
  6. ICL สร้างความพึงพอใจต่อคนไข้อย่างมาก ช่วยให้คุณได้คุณภาพการมองเห็นที่ดีมาก

ขั้นตอนการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

  1. แพทย์ทำการหยอดยาชาให้คนไข้
  2. ทำการเปิดแผลที่ขอบตาดำขนาดเล็กเพียง 3 มม.
  3. เติมสายหนึดเข้าไป เข้าไปและค่อยๆใสเลนส์ ICL เข้าไปวางอยู่เหนือม่านตา
  4. ICL จะถูกสอดเข้าไปหลังม่านตา และสารหนึดจะถูกนำออกจากดวงตา

ผู้ที่เหมาะสม

  1. อายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50ปี และยังไม่เริ่มเป็นต้อกระจก
  2. มีความผิดปกติในการมองเห็น มีสายตาสั้น หรือสายตาเอียงมาก
  3. มีสายตาคงที่ (เปลี่ยนแปลงไม่เกิน -50 ภายใน 1 ปี)
  4. กระจกตาบาง ทำให้ไม่สามารถทำวิธี PRK/Femto Lasik /ReLEx ได้
  5. มีความลึกของช่องด้านหน้าลูกตาเพียงพอ
  6. เป็นผู้ที่ไม่เคยผ่าตัดตามาก่อน
  7. ไม่มีโรคทางตาอื่น เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ หรือโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากเบาหวาน
  8. มีความคาดหวังและความเข้าใจต่อการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมอย่างถูกต้อง

คำถามที่พบบ่อย

Lasik เป็นการแก้ไขปัญหาสายตาโดยการใช้แสงเลซอร์ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา เพื่อให้การหักเหของแสงตกลงพอดีที่เซลล์รับภาพในดวงตา ในขณะที่การใส่เลนส์เสริม ICL เป็นการแก้ไขสายตาโดยการใส่เลนส์ชนิดพิเศษ ที่ตัดตามค่าสายตาของแต่ละคนแล้วใส่เสริมในดวงตา จะไม่มีการใช้แสงเลเซอร์

ได้ เลนส์เสริม ICL เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาภาวะสายตาสั้น ยาว เอียงมากๆ หรือผู้ที่มีกระจกตาบาง ตาแห้ง หรือมีรูม่านตาใหญ่ได้

ไม่ต้อง เพราะเลนส์เสริม ICL ถูกออกแบบมาเพื่อใส่ในลูกตาสามารถอยู่ในลูกตาถาวรโดยไม่ต้องดูแลรักษา เพียงไปพบจักษุแพทย์เป็นประจำทุกปี หรือตามแพทย์นัดเพื่อให้มั่นใจว่าเลนส์ยังอยู่ในสภาพดี

ข้อดีของเลนส์เสริม ICL คือสามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงโดยไม่มีการทำลายเนื้อเยื่อกระจกตา ไม่จำเป็นต้องมีการเย็บแผลในการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก นอกจากนี้การแก้ปํญหาสายตาโดยการใส่เลนส์เสริม ICL ยังให้ผลการรักษาที่แม่นยำ คือ การมองเห็นที่ชัดเจนและคุณภาพการมองเห็นที่ดี เนื่องจากใช้ Collamer® เป็นวัสดุผลิตเลนส์เสริม ICL

Collamer® คือวัสดุที่ใช้ผลิตเลนส์เสริม ICL เป็นส่วนประกอบระหว่าง Collagen และ Co-polymer โดยที่ Collamer® นั้นมีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ไม่ทำให้เกิดการต่อต้าน หรือระคายเคือง อ่อนโยนกับดวงตา มีความคงรูป

เนื่องจากเลนส์ ICL ผลิตขึ้นเฉพาะแต่ละบุคคลระยะเวลาในการผลิตนั้นขึ้นอยุ่กับค่าสายตา จึงไม่สามารถใส่เลนส์ ICL ได้ทันที

เลนส์เสริม ICL ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถอยู่ในลูกตาได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องบำรุงรักษา แต่หากมีความจำเป็นด้วยเหตุผลใดๆ เลนส์เสริม ICL สามารถนำออกจากลูกตาได้อย่างง่ายดายโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ไม่มี เพียงพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อย และระมัดระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง

เวลาในการใส่เลนส์เข้าไปในตาจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที หากรวมระยะเวลาในการเตรียมพร้อมจะใช้เวลารวมประมาณ 30 นาที

หลังจากใส่เลนส์ ICL เข้าไปในตาแล้ว คนไข้จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทันที เพียงแต่ในวันแรกหลังการผ่าตัด จะต้องปิดตาไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือฝุ่นละอองเข้าตา

วิธีปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแก้ไขสายตาผิดปกติที่ผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL รุ่น V4c)

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการขยายม่านตาเพื่อตรวจจอประสาทตา ซึ่งจะมีผลต่อการมองเห็น และการรับแสงจ้าไม่ได้ ควรเตรียมแว่นตากันแดด และนำเพื่อนหรือญาติมาด้วย อย่าขับรถมาเอง เพราะหลังจากได้รับ การตรวจแล้ว ตาจะมัว ทำให้ความสามารถในการขับรถลดลง หรือไม่สามารถขับรถได้
  2. ผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์ ต้องถอดคอนแทคเลนส์ก่อนเข้ารับการตรวจรักษาดังนี้
    • สำหรับคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม (soft) ต้องถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจเช็ค เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน
    • คอนแทคเลนส์แบบกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง (Semi-Hard) และแบบแข็ง (Hard) ต้องถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจเช็ค เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน
  3. การเข้ารับการตรวจเช็คตานั้น เพื่อเป็นการประเมินว่า สภาพของตามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ ซึ่งผลจากการตรวจเช็ค แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและประเมินผลว่า ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขสายตาสั้น ยาว เอียงโดยการใส่ ICL ได้อย่างปลอดภัย
  4. หลังจากการตรวจเช็คตาเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ จนกระทั่งถึงวันที่จะต้องผ่าตัดใส่เลนส์เสริม

การเตรียมตัวและการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

  1. ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดจะต้องไม่มีประวัติเป็นโรคต้อหิน (Glaucoma) โรคต้อกระจก (Cataract) โรคกระจกตาโค้งผิดรูป (Keratoconus)
  2. ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดควรจะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 21-45 ปี หรือตามที่แพทย์เห็นสมควร และมีค่าสายตาคงที่
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว จะต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ เพื่อที่แพทย์จะได้ควบคุม ตรวจเช็คสภาพร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  4. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ สามารถรับประทานยาได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยที่ได้รับประทานยาประเภทละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน ควรงดยาก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 7-10 วันหรือตามที่แพทย์เห็นสมควร
  5. หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติก่อนถึงวันผ่าตัด เช่น ตาแดง ตาอักเสบ หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการให้หายเป็นปกติก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  6. ควรสระผม ทำความสะอาดร่างกาย ตัดเล็บให้สั้นและห้ามทาเล็บ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 1 วัน
  7. วันที่จะเข้ารับการผ่าตัดควรอาบน้ำ ทำความสะอาดใบหน้า คิ้ว และรอบๆดวงตาให้สะอาด ห้ามใช้ครีมทาหน้า ทาแป้ง แต่งหน้า หรือ ใช้เครื่องสำอางใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำให้เกิดคราบไขมัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเตรียมการผ่าตัด
  8. ก่อนเข้ารับการผ่าตัด สามารถรับประทานอาหารตามปกติ แต่ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม เป็นต้น หลังจากนั้นควรทำความสะอาดปากและฟันก่อนเข้าห้องผ่าตัด ผู้ที่ใส่ฟันปลอมต้องถอดเก็บไว้
  9. ในวันที่จะเข้ารับการผ่าตัดควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน เพราะหลังการผ่าตัดจะมีการปิดฝาครอบตาป้องกันการติดเชื้อ และไม่สวมใส่เครื่องประดับหรือนำสิ่งของมีค่าใดๆ ติดตัวมาด้วย เพื่อป้องกันการสูญหาย

การปฏิบัติตัวขณะเข้ารับการผ่าตัด

  1. ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาขยายม่านตา จากนั้นให้นอนราบ ไม่เอียงศีรษะ ตามองตรงไปที่ไฟเป้าหมาย
  2. แพทย์จะหยอดยาชา หรือฉีดยาชาก่อนการผ่าตัดใส่เลนส์
  3. แพทย์ทำเครื่องหมายที่กระจกตา หลังจากนั้นแพทย์จะผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL โดยเปิดแผลที่ขอบตาดำขนาด 3.0-3.2 มิลลิเมตร แล้วใส่เลนส์เข้าไปในตา
  4. ในระหว่างที่ได้รับการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยจะไอ จาม หรือจะเคลื่อนไหวร่างกายต้องบอกให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
  5. หลังจากที่แพทย์ใส่เลนส์เสริมเข้าไปในตาเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการล้างสารหนืดออกจากลูกตา
  6. จากนั้นแพทย์จะหยอดยาฆ่าเชื้อ และปิดตาด้วยฝาครอบตา

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด

  1. หลังการผ่าตัด ในบางรายอาจพบอาการต่อไปนี้
    • น้ำตาค่อนข้างมาก หรือมีอาการคัดจมูกร่วมด้วย
    • เคืองตาหรือแสบตา
  2. หลังการผ่าตัด 1 วัน อาจพบอาการต่อไปนี้
    • ตาแดง (อาการดังกล่าวจะหายได้เอง ภายใน 7-14 วัน)
    • แสบตาสู้แสงจ้าไม่ได้

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด

ข้อควรปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
  1. รับประทานยา หรือ หยอดยาตามที่แพทย์แนะนำ
  2. ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ประกอบภารกิจประจำวันที่เบาๆ ได้ตามสมควร
  3. ทำความสะอาดรอบๆ ดวงตาได้อย่างระมัดระวัง
  4. รับประทานอาหารได้ตามปกติ ระวังอย่าให้ท้องผูก รับประทานยาโรคประจำตัวได้ตามปกติ
  5. ควรปิดตาข้างที่ทำการผ่าตัดด้วยที่ครอบตาพลาสติกแข็งขณะนอนหลับเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการขยี้ตา หรือการกดทับตา
  6. หลังจากเปิดตาแล้ว อาจจะยังมองเห็นไม่ชัดไม่ต้องตกใจ การมองเห็นจะดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับโดยต้องหยอดตาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและล้างมือให้สะอาดก่อนหยอดยาทุกครั้ง
  7. อาจสวมแว่นตาเพื่อป้องกันแสงแดด ลม ฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะเวลาออกนอกบ้าน
  8. สามารถออกกำลังกายเบาๆได้ เช่น การเดินเล่น การทำงานบ้าน และจะออกกำลังกายได้ตามปกติหลังจากผ่าตัดแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
  9. หากมีอาการผิดปกติใดๆ เช่น ปวดตา แสบตา หรือตามัวลง ก่อนวันที่แพทย์นัดหมายไว้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
  10. มาพบแพทย์ตามระยะเวลาที่แพทย์นัดหมายทุกครั้ง
ข้อห้ามปฏิบัติหลังการผ่าตัด
  1. ห้ามเอาฝาที่ครอบตาออกเองเป็นอันขาด ซึ่งแพทย์จะนัดมาตรวจผลการรักษาในวันรุ่งขึ้น และจะเป็นผู้เปิดฝาครอบตาให้
  2. ห้ามขยี้ตา หรือเกาเปลือกตาแรงๆ รวมไปถึงห้ามแต่งเปลือกตาหรือเขียนเปลือกตา อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  3. ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาห้ามล้างหน้าควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆเช็ดใบหน้า อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง หากบังเอิญมีน้ำเข้าตาให้ใช้ยาหยอดตา ตามที่แพทย์ให้
  4. ห้ามสระผมเอง ควรสระผมในท่านอนโดยระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา
  5. ห้ามว่ายน้ำเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
  6. ไม่ควรนอนตะแคงทับตาข้างที่ทำการผ่าตัด
  7. ห้ามยกของหนัก รวมทั้งห้ามก้มศรีษะต่ำกว่าเอว เช่น ก้มหยิบของที่พื้น หรือใส่รองเท้า
  8. ไม่ควรใช้สายตาเป็นเวลานานเกินไป แต่สามารถอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ได้ตามสมควร
  9. ควรเว้นการรับประทานอาหาร การทำความสะอาดบ้าน หรืออยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นควันอย่างน้อย 1เดือน
  10. ควรระวังเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยงที่อาจทำอันตรายต่อตาข้างที่ผ่าตัดโดยไม่ตั้งใจ